โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร กล่องเสียง คอและหลอดลมได้
เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหารจะถูกบีบไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารจะมีหูรูด ทำให้ที่ปิดมิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้วจะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารก็จะมีอาการของกรดไหลย้อน
อาการของกรดไหลย้อน
☼ อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้
☼ รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ บางครั้งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลืนลำบาก กลืนไม่ลง หรือกลืนแล้วเจ็บ
☼ เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
☼ รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอมหรือปาก
☼ มีเสมหะอยู่ในคอหรือระคายคอตลอดเวลา
☼ เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาการหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในคอ
☼ รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย บางครั้งผู้ป่วยจะบอกว่ารู้สึกแน่นหน้าอกซึ่งจำเป็นจะต้องแยกจากการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจด้วย
อาการทางกล่องเสียงและปอด
► เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
► ไอเรื้อรัง
► ไอ หรือรู้สึกสำลักน้ำลายในเวลากลางคืน
► อาการหอบหืดแย่ลง ถ้าผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคหอบหืดอยู่
► เจบหน้าอก
► เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆ หายๆ
การรักษา
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
♦ ลดน้ำหนักสำหรับผู้มีน้ำหนักเกิดเพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
♦ งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
♦ ใส่เสื้อหลวมๆ ไม่รัดแน่นจนเกินไป
♦ ไม่ควรจะนอนราบ ออกกำลังกาย หรือ ยกของหนักหลังรับประทานอาหาร
♦ หลังรับประทานอาหารไม่ควรล้มตัวลงนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
♦ หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่
♦ หลีกเลี่ยงอาหารพออิ่ม อาจรับประทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
♦ หลีกเลี่ยงน้ำมะนาว น้ำส้ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
♦ นอนหัวให้สูงประมาณ 6 - 10 นิ้ว (15 ซม.) โดยหนุนที่ขาเตียงไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศรีษะเพราะทำให้ความดันในช้องท้องสูงขึ้น
♦ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป
♦ อย่าให้ท้องผู้และอย่าเบ่งเวลาถ่าย
2. การรักษาด้วยยา
♦ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
♦ หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดเข่า ยาชุดแก้ปวดต่างๆ
หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรจะต้องครวจเพิ่มเติม ได้แก่
- การกลืนแป้งตรวจหลอดอาหารและกระเพราะอาหาร
- การส่องกล้องตรวจหาหลอดอาหารและกระเพราะอาหาร
การรักษาโดยการผ่าตัด จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
โรคแทรกซ้อน
☼ หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผลและมีเลือดออกหรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก
☼ อาจจำทำให้โรคปอดแย่ลง เช่น โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ